วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความรู้เรื่องเข็ม ร้านปักเสื้อ เชียงใหม่

ความรู้เรื่องเข็ม ร้านปักเสื้อ เชียงใหม่

เข็มเป็นส่วนสำคัญในการเย็บจักร การเข้าใจในการเลือกใช้ชนิด ขนาด และการดูแลเข็มจักร จะทำให้สร้างผลงานตัดเย็บที่สวยงาม
ไม่มีปัญหาติดขัดค่ะ ต้องเปลี่ยนเข็ม… เมื่อเข็มทื่อ สังเกตจาก ฝีเข็มกระโดด เสียงดัง(ปุกๆๆ) เพราะเข็มทื่อจึงไปสะกิดเส้นใยผ้าทำให้ผ้าย่นหรือรั้งค่ะ
เข็มเย็บผ้าที่บริษัทนำเข้ามาขาย คือยี่ห้อ SCHMETZ เป็นเข็มคุณภาพดีจากเยอรมันค่ะ
การดูเข็ม
เข็มเย็บผ้า ที่เราใช้กับจักรเย็บผ้าเอลวิร่าเป็นเข็มที่ใช้เฉพาะกับจักรบ้าน รูปตัวอย่าง ยี่ห้อ SCHMETZ จากเยอรมัน มีวิธีดูตามรูปตัวอย่างนะคะ
ระบบ
130/705 H เป็นเข็มสำหรับจักรบ้าน ซึ่งก้านเข็มอีกด้านแบน เวลาใส่จักรให้เอาด้านแบนหันออกนอกตัวเราค่ะ
การใช้งาน
Universal เป็นประเภทเข็มใช้ทั่วไป กรณีเป็นเข็มสำหรับผ้าพิเศษจะมีบอกค่ะ เช่น H-S (Stretch) ใช้กับผ้ายืด , H-J (Jeans/Denim) ใช้กับ ยีนส์
ขนาดเข็ม
80/12 คือขนาดเข็มค่ะ ระบบยุโรปเบอร์ 80 และระบบอเมริกันเรียกเบอร์ 12 ขนาดเข็มมีให้เลือกตั้งแต่ขนาดเล็ก – ใหญ่ 
ควรเลือกให้เหมาะกับการเย็บแต่ละและเนื้อผ้าค่ะ
เลือกขนาดเข็ม
เพื่อให้ชิ้นงานเย็บออกมาดี ควรเลือกใช้เข็ม ด้าย ให้พอดี เหมาะสมกับชนิดของผ้า โดยดูจากขนาดความโตของเว้นด้าย
หากใช้ด้ายเส้นเล็กบางเบา ควรใช้เข็มขนาดเล็ก  หากใช้เข็มขนาดใหญ่ก็ควรใช้ด้ายขนาดใหญ่
      
ขนาดเข็มจักรเย้บผ้าเริ่มตั้งแต่ขนาดเล็ก-ใหญ่ สำหรับยี่ห้อ SCHMETZ จากเยอรมันเป็นเข็มระบบยุโรปค่ะ
     
ชนิดของเข็ม
เพื่อลดปัญหาในการเย็บผ้าชนิดพิเศษต่างๆ ควรเลือกเข็มให้เหมาะกับเนื้อผ้าที่มีเส้นใยแตกต่างกัน
เข็มเย็บผ้าธรรมดา 130/705 H
มีหลายขนาด เลือกให้เหมาะกับเนื้อผ้า การเลือกขนาดเข็มค่ะ
           
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 60
เป็นเข็มเย็บผ้าขนาดเล็ก ออกแบบมาให้เหมาะกับการเย็บผ้าเนื้อบางๆ เช่น ผ้าชีฟอง ผ้าแก้ว ผ้ามัสลิน ควรใช้คู่กับด้ายเส้นเล็ก
เช่น ด้ายโพลีเอสเตอร์ เมื่อเย็บแล้วจะได้ตะเข็บที่ สวยเนียนกลมกลืนกับเนื้อผ้า
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 70
เหมาะกับการเย็บผ้าเนื้อบาง เช่น ผ้า สำหรับชุดเด็ก ผ้ามัสลิน ผ้าแพร ควรใช้คู่กับด้ายเส้นเล็ก
ข้อแนะนำ : การเย็บผ้าเนื้อบางมากๆ การใช้คู่กับตีนผีเย้บผ้าบางจะช่วยให้ตะเข็มสวยงามมากขึ้นค่ะ
ข้อควรระวัง : เข็มขนาดเล็กมากไม่สามารถใช้ที่สนเข็มอัตโนมัติได้ต้องสนเข็มด้วยมือค่ะ
            
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 75
เหมาะกับการเย็บผ้าเนื้อบางถึงปานกลาง เช่น ผ้า สำหรับชุดเด็ก ผ้ามัสลิน ผ้าแพร ควรใช้คู่กับด้ายเส้นเล็ก และใช้คู่กับไหมปักในกรณีที่ปักลวดลายต่างๆ
เย็บเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 80
เหมาะสำหรับผ้าธรรมดาทั่วไปเนื้อปานกลาง เช่น ผ้าคอตตอน ผ้าซาติน ผ้าลินิน ผ้าขนสัตว์เนื้อบาง สามารถใช้ได้กับกับด้ายเย็บทั่วไป ด้ายเมจิกสปัน
         
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 90
ใช้เย็บผ้าธรรมดาทั่วไปเนื้อปานกลาง-หนา เช่น ผ้าคอตตอนเนื้อหนา
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 100
ใช้เย็บผ้าธรรมดาทั่วไปเนื้อหนา เช่น ผ้าทำกระเป๋า ผ้าใบ
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 110
ใช้เย็บผ้าธรรมดาทั่วไปเนื้อหนาพิเศษ เช่น ผ้าทำกระเป๋าเนื้อหนา ผ้าใบ
          
เข็มจักรแซกริมผ้า EL X 705
จักรแซกริมผ้าหรือเรียกง่ายๆ ว่าจักรโพ้ง เป็นการแซกริมผ้าที่เกิดจากการถักคล้องกันด้วยด้าย 3-4 เส้น ซึ่งมีเข็มด้ายบนและตัวคล้องด้ายด้านล่างสองอันที่เรียกว่า
Loop ถักกัน เป็นตะเข็บแวกริมผ้าสวยงาม เข็มจักรแซกริมผ้า มีร่องเข็ม 2 ด้าน ทั้งหน้าและหลัง (เข็มที่ใช้กับจักรเย็บผ้าธรรมดามีร่องเข็มด้านเดียว)
เพื่อความสะดวกในการถักคล้องกัน จึงเหมาะกับจักรโพ้งค่ะ
หมายเหตุ
จักรแซกริมผ้าเราสามารถใช้เข็มจักรธรรมดาเย็บได้ แต่เพื่อให้การโพ้งราบรื่นขึ้น ตะเข็บสวยงาม จึงนิยมเลือกใช้เข็มจักรแซกริมผ้าค่ะ
            
เข็มควิลท์ติ้ง 130/705 H-Q
บอดี้เข็มผอมเรียว ปลายเข็มกลมมน สามารถเย็บผ่านใยโพลีเอสแตอร์ได้ดี ออกแบบมาสำหรับงานควิลท์โดยเฉพาะ
ช่วยให้เรา Quilt, Appliqué, Patchwork บนใยโพลีเอสเตอร์ ได้ง่าย นิ่มนวล ลื่น ได้ผลงานที่ปราณีตยิ่งขึ้น
            
เข็มเย็บผ้ายืด 130/705 H-S
ผ้ายืดทอแบบห่วง (knitting) มีความยืดหยุ่น เข็มเย็บผ้ายืดจะช่วยให้เย็บง่าย และควรใช้ตะเข็บที่มีความยืดหยุ่นสูงและฝีเข็มสวยปราณีตค่ะ
เข็มถูกออกแบบมาให้มีปลายมน เพื่อลดการฉีกขาดของเส้นใยผ้ายืด และลดปัญหาตะเข็บกระโดด ผ้ายืดเนื้อบาง-ปานกลาง เช่น ผ้าเจอร์ซี่
ผ้าชุดว่ายน้ำ ผ้ายืดเนื้อบาง-ปานกลางนิยมใช้เบอร์ 75 ผ้ายืดเนื้อปานกลาง- หนา นิมยมใช้เบอร์ 90
                 
เข็มเย็บยีนส์ 130/705 H-J
ออกแบบมาให้มีปลายแหลมพิเศษ เพื่อสามารถเย็บผ้ายีนส์ ซึ่งเป็นผ้าเนื้อแข็ง ได้อย่างแนบเนียน สวยงาม
           
เข็มเย็บหนัง 130/705 H-LL
ออกแบบมาให้มีปลายแหลมเหมือนปลายหอก เพื่อให้สามารถเย็บหนังได้อย่างสะดวก ไม่ควรใช้เข็มเย็บหนังไปเย็บผ้าธรรมดา เพราะจะทำให้เกิดความเสียหาย
เข็มเย็บผ้าเพื่อการตกแต่ง
      
เข็มพาย 130/705 H-WING
เป็นเข็มที่มีปีกเพื่อถ่างผ้าให้เกิดรูตลอดแนวที่เย็บ เข็มจะเจาะผ้าเป็นรูและด้ายจะมัดรูนั้นเอาไว้ให้เกิดเป็นลวดลาย
ใช้ตกแต่งงานปักฉลุ (Hemstitch) Heirloom เข็มพายออกแบบมาให้มีปีกคล้ายใบพายเพื่อถ่างผ้าให้เกิดรูตลอดแนวที่เย็บ
และเส้นด้ายจะไปมัดรูที่เย็บไว้ ใช้เย็บงานปักเฉลุ Heirloom นิมยมตกแต่งเสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าสุภาพสตรี ผ้าม่าน ของใช้อื่นๆ
ข้อแนะนำ : เพื่อให้การเจาะฉลุเกิดรูชัดเจนควรใช้กับผ้าคอตตอน ลินิน และมัสลินค่ะ
               
เข็มคู่ 130/705 H-TWIN
ออกแบบมาพิเศษ ให้มีเข็ม 2  เล่มในก้านเดียวกัน ใช้ได้เส้นตรงและลายตกแต่งค่ะ
1. ด้ายบน ให้ด้าย 2 เส้นโดยกรอด้ายใส่ไส้กระสวย 2 อัน ร้อยด้ายตามปกติ แล้วแยกร้อยใส่ปลายเข็มทั้ง 2
2. เวลาร้อยด้ายเข้าเข็มไม่สามารถใช้ที่สนเข็มได้ ต้องใช้มือสนเข็มเองค่ะ
 3. ด้านล่างใส่ไส้กระสวยตามปกติค่ะ
         
ข้อแนะนำ : เข็มคู่เป็นเข็มที่มี 2 เล่มในก้านเดียวกันเวลาเย็บลายปักจึงกว้างขึ้นกว่าปกติ ทำให้ เข็มไปชนตีนผีเป็นสาเหตุให้เข็มหักได้
ดังนั้นเพื่อป้องกันเข็มหัก ต้องลดความกว้างของลายให้น้อยลง ลดความตึงด้ายบนลงเล็กน้อย เริ่มเย็บช้าๆ ไม่ควรใช้ความเร็วมากเกิน ไปค่ะ
เข็มจักรที่มาพร้อมกับจักรเย็บผ้า ELVIRA
     
เมื่อซื้อจักรเย้บผ้าเอลวิร่ารุ่น Renova Touch, Party, Innova Plus, Diana Plus  จะมีเข็มให้ 1 กล่อง
     – เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 75  จำนวน 2 เล่ม สำหรับเย็บผ้าเนื้อปานกลาง
     – เข็มเย้บผ้าธรรมดา เบอร์ 90 จำนวน 2 เล่ม สำหรับเย็บผ้าหนา
     – เข็มเย็บผ้ายืด จำนวน 1 เล่ม  ก้านเข็มแต้มสีน้ำเงิน  (กรณีมาซื้อเพิ่มเข็มยี่ห้อ SCHEMETZ ของเยอรมันใช้ก้านเข็ม สีเหลืองทองค่ะ)
     
เมื่อซื้อจักรเย็บผ้ารุ่น Smoothie, Sweetie  ในกล่องอุปกรณ์จะมีเข็มให้ 1 ห่อ
เข็มจักรเย็บผ้าธรรมดาเบอร์ 14 เหมาะกับการเย็บผ้าหนา (เมื่อเทียบเข็ม SCHMETZ ระบบยุโรป เทียบกับเบอร์ 90 ค่ะ)
เมื่อไหร่ ต้องเปลี่ยนเข็ม
1. เมื่อเข็มทื่อ เราควรจะเปลี่ยนเข็มใหม่ สังเกตจากฝีเข็มกระโดด เสียงดัง(ปุกๆๆ) หรือเข็มทื่อจึงไปสะกิดเส้นใยผ้าทำให้ผ้าย่นหรือรั้ง
2. เมื่อเข็มงอ วิธีสังเกต วางด้านเรียบของเข็มบนพื้นเรียบๆ เช่น กระจก  หากเข็มงอจะเห็นได้ชัดเจนค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น