วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการปัก รับปักอาร์ม โลโก้ เสื้อโปโล ตราสัญลักษณ์ เชียงใหม่


เทคนิคการปัก
1. นับจำนวนช่องลายที่ปัก  ทั้งแนวตั้งและแนวนอนตัวอย่างเช่น นับจำนวนช่องทั้งหมดในแบบปักได้ 160 x 200 (แนวนอนนับได้ 160 ช่อง แนวตั้งนับได้ 200 ช่อง)

2. หาจุดกึ่งกลางทั้งแนวตั้ง และแนวนอนของแบบปัก
แนวเส้นกึ่งกลางสังเกตได้จากสัญลักษณ์ ตัวอย่างเช่น ในแบบปักเป็น 160 x 200 ช่องจุดกึ่งกลางจริง ของลายปักจะอยู่ที่ 80 x 100 หรืออยู่ในบล็อกที่ 8 x 10
     3.พับทบมุมผ้าทั้งสี่ด้าน เมื่อคลี่ออกจะเห็นรอยตัดกันบนผ้า นั่นคือจุดกึ่งกลางของผ้า (ซึ่งเทียบได้กับจุดกึ่งกลางของลายปัก) ใช้สีเมจิกที่ซักออกได้จุดไว้ หรือใช้เข็มร้อยด้ายเนาแทงขึ้นมา
คุณจะได้จุดกึ่งกลางของผ้าปัก
 4. จากจุดกึ่งกลางนับแบ่งบล็อกผ้า โดย 10 ช่องผ้าเป็น 1 บล็อก นับและจุดจนได้บล็อกเท่ากับจำนวนบล็อกในลายที่นับ
และเขียนไว้ในข้อ 2 ทั้งแกนแนวตั้งและนอน ตัวอย่างเช่น
ลายปักมี 160 x 200 ช่องหรือ 16 x 20 บล็อก จากจุดกึ่งกลาง
นับขึ้นไปด้านบน 10 ช่องผ้า ใช้สีเมจิกจุดไว้อีก ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จนนับจุดแนวตั้งด้านบนได้ 10 บล็อก จากนั้นเริ่มที่จุดกึ่งกลางผ้า อีกครั้งนับลงในแนวล่าง นับช่องผ้าและจุดจนได้ 10 บล็อกเช่นกัน เริ่มที่จุดกึ่งกลางอีกครั้ง นับไปด้านซ้าย 10 ช่อง ใช้สีเมจิกจุดไว้ นับและจุดไปทางซ้ายเรื่อยๆ จนนับบล็อกได้ 8 บล็อก แล้วจึงเริ่มที่จุดกึ่งกลางใหม่ นับไปด้านขวาทำเหมือนเดิม ับและจุดจนได้ 8 บล็อกเช่นกัน จะได้แนวจุดซึ่งแบ่ง เป็นบล็อกเรียงเป็นแกนแนวตั้งและแนวนอน
5.  จากจุดสูงสุดและต่ำสุดของแกนแนวตั้งที่อยู่กึ่งกลาง จากข้อ 4 นับแบ่งบล็อกผ้า ไปทางด้านซ้ายและขวา ให้เท่ากับจำนวนบล็อกในลายปัก ตัวอย่างเช่น จากลายปัก 16 x 20 บล็อก จุดสูงสุดของแกนแนวตั้งกึ่งกลาง นับไปทางซ้าย 10 ช่อง จุดไว้แล้วนับต่อไปอีก 10 ช่อง ใช้สีเมจิกจุดไว้อีก ทำไปเรื่อยๆ จนนับได้ 8 บล็อกเช่นกัน จากนั้นจึงนับและจุดเป็นบล็อก ทั้งซ้ายขวาเหมือนเช่นเดิม ที่จุดต่ำสุดของแกนแนวตั้ง
6. จากจุดซ้ายสุดและขวาสุดของแกนแนวนอนที่อยู่กึ่งกลาง ข้อ 4 นับแบ่งบล็อกผ้าไปทางด้านบน และล่าง ให้เท่ากับจำนวนบล็อกในลายปัก ตัวอย่างเช่น จากลายปัก 10 x 20 บล็อกจุดซ้ายสุดของแกนแนวนอนกึ่งกลาง
นับไปข้างบน 10 ช่อง จุดไว้แล้วนับต่อไปอีก 10 ช่อง ใช้สีเมจิกจุดไว้อีก ทำไปเรื่อยๆ จนนับได้ 10 บล็อก แล้วจึงนับไปด้านล่าง ทำเหมือนเดิม จนนับได้ 10 บล็อกเช่นกัน จากนั้นจึงนับและจุดเป็นบล็อกทั้งบน และล่างเหมือนเช่นเดิม ที่จุดขวาสุดของแกนแนวนอน
6. ตีตารางจากจุดที่เราจุดสร้างบล็อกต้องระวังอย่าให้เบี้ยวโดยต้องขีดเส้นให้อยู่ในร่องผ้าเท่านั้นเขียนหมายเลขกำกับไว้ในแต่ละบล็อกโดยเรียงตามลำดับ จะได้ตารางจำนวนบล็อกเท่ากับจำนวนบล็อกในลายปักไหมปักครอสติช
ไหมหนึ่งเส้นจะแบ่งเป็นเส้นเล็กๆ ได้ 6 เส้น การปักไขว้จะใช้ไหมครั้งละ 2 เส้นเล็กหากเป็นสัญลักษณ์ไหมผสม จะใช้สีละ 1 เส้นเล็ก ปักเดินเส้นจะใช้เพียง ครั้งละ 1 เส้นเล็ก

สำหรับสีเมจิกที่ใช้ต้องเป็นสีที่ละลายน้ำได้ โดยหาซื้อได้จากร้านเครื่องเขียนทั่วไป จะราคาถูกและขายเป็นซอง เราจะเลือกใช้เฉพาะโทนสีอ่อนเพื่อความ แน่ใจควรลองแต้มลงบนเศษผ้าทิ้งไว้ แนะนำไปซักโดยใช้น้ำยาซักแห้งทั่วไปหากซักได้หมดจดก็สามารถใช้ได้ ารปักเพื่อที่จะให้ง่ายควรปักทีละสัญลักษณ์ โดยดูว่าสัญลักษณ์นั้นอยู่ในบล็อกไหนของลายเราก็จุดสีเมจิกลงบนผ้าให้เป็นตำแหน่งบล็อกเดียวกัน เมื่อจุดจนครบแล้วจึงปักทับสีที่จุดไว้มื่อเสร็จสัญลักษณ์นี้แล้วจึงเริ่มทำสัญลักษณ์ใหม่ต่อไปเรื่อยๆหากแบบปักนั้นมีดิ้นทองหรือลูกปัดควรจะปักไหมให้เสร็จเรียบร้อยทุกสีก่อนนำไปซักรีด แล้วค่อยปัก ดิ้นทองหรือลูกปัดภายหลังเพราะสีของดิ้นทองหรือลูกปัดจะจางลงได้เมื่อโดนน้ำยาซักผ้าหรือน้ำยาซักแห้ง
ปักไขว้เป็นแนวนอน 
แทงเข็มที่ตำแหน่งที่ 1 แทงลงที่ 2 แทงขึ้นที่ 3 และแทงลงที่ 4 ไปเรื่อยๆจนหมดแล้วเมื่อสุดแถวแล้วปักย้อนกลับ
การปักไขว้แนวดิ่ง 
สัญลักษณ์ที่เรียงต่อกันเป็นแนวตั้ง ควรปักโดยเริ่มแทงเข็มที่ 1 แทงลงที่ 2 แทงขึ้นที่ 3 แทงลงที่ 4และแทงขึ้นที่ 5 ไปเรื่อยๆ เมื่อสุดแถวแล้วปักย้อนกลับ เช่นเมื่อสุดแถวที่ตำแหน่งที่ 8 แทงเข็มขึ้นที่ 9 แทงลงที่ 6 แทงขึ้นที่ 7 ไปเรื่อยๆ

ปักครึ่งช่อง 
การปักครึ่งชองมักจะมีตามขอบของรูป หรือบริเวณที่ต้องการให้ถาพจางเหมือนอยู่ไกล การปักเหมือนการปักไขว้เพียงแต่ไม่ปักย้อนกลับ

การปัก 3/4 ช่อง 
มักจะเป็นการปักบริเวณของภาพหรือบริเวณตา โดยเริ่มแทงเข็มขึ้นที่ 1 แทงลงที่ 2 แทงขึ้นที่ 3 และแทงลงที่ 4
ซึ่งตำแหน่งที่ 4 นี้จะไม่ตรงตามรูผ้าแต่จะเป็นกลางช่องผ้า

การปักเดินเส้น
ส่วนใหญ่จะใช้ไหมปักครั้งละ 1 เส้นเล็ก เป็นการปักที่เป็นเส้น เหมือนด้นถอยหลังแต่ระยะของไหมปักจะไม่จำกัดว่าเป็นหนึ่งช่องผ้าขึ้นอยู่กับว่าในแบบปักต้องการให้เส้นพาดไปถึงบริเวณใด หาเป็นเส้นแนวตรงไม่ควรปักแนวยาว ควรปักไปทีละช่อง หรือสองช่องผ้า เพราะหากปักข้ามไปยาวไหมจะหย่อนได้ง่าย 
ข้อควรจำสำหรับการปักครอสติช
1.ต้องปักเฉียงไปทางเดียวกันตลอด โดยเลือกตามความถนัดของตัวเองค่ะ จะเอียงซ้ายก็ซ้ายตลอด ขวาก็ขวาตลอด จะทำให้ได้ผลงานที่เป็นระเบียบ สวยงามค่ะ
2. ห้ามมัดปมไหมไว้ด้านหลัง เพราะจะทำให้ภาพที่ได้ไม่เรียบมีตะปุ่มตะป่ำตามรอยปมไหมได้ การเริ่มต้นไหมเส้นใหม่หรือเก็บปลายไหมให้สอดเก็บไว้ด้านหลัง โดยเหลือปลายไว้ยาวประมาณ 1 ซม.ก็พอค่ะ
3. ไม่ควรตัดไหมยาวมากนัก บางคนขี้เกียจต่อไหมใหม่ก็อยากตัดไหมให้ยาว ๆ ทีเดียวไปเลย แต่ในการปักจริง ๆ แล้วไม่ควรตัดไหมยาวเกิน 18-20 นิ้วนะคะ เพราะไหมส่วนปลายมักจะเยิน ไม่สวย และในระหว่างปักถ้าไหมมีหลายเส้นก็จะไม่เรียบ ต้องเสียเวลารูดไหมให้เรียบเสมอกันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งบางครั้งน่ารำคาญกว่าการเปลี่ยนไหมเส้นใหม่นะคะ
4.ถ้าลายที่ปักซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้เข็มหลาย ๆ เล่มปักไปพร้อม ๆ กัน เข็มและไหมปักที่ยังไม่ได้ใช้ไม่ควรเก็บไว้ทางด้านหลังของลายปักนะคะ เพราะอาจจะทำให้ไหมปักพันกันกับไหมที่เราพักไว้ ควรจะเอามาเก็บไว้ทางด้านหน้าของลายปักดีกว่าค่ะ เพราะเราจะได้มองเห็นตลอดเวลา ไหมจะได้ไม่พันกันไงคะ
5.กรณีที่การปักใช้ไหมมากกว่า 1 เส้น ต้องดึงไหมออกมาเป็นเสันเล็กทีละ 1 เส้น จนครบจำนวนที่จะต้องใช้ก่อนแล้วค่อยนำมารวมกันเพื่อสอดเข้าก้นเข็ม ถ้าดึงพร้อมกันหลาย ๆ เส้นไหมจะพันกันยุ่งไปหมด แล้วเวลาปักงานก็จะไม่เรียบร้อยด้วย
ค่ะ 
วิธีปักสำหรับผู้ที่อยากได้ชิ้นงานขนาดใหญ่ขึ้น
ปักเป็นรูปดอกจันตามภาพข้างล่างนี้ จะได้ชิ้นงานที่มีขนาดกว้างและยาวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ถ้าขนาด 5" x 5" ก็จะได้ขนาด 10" x10" โดยปัก 4 ช่องผ้าต่อ 1 สัญลักษณ์ในผังลาย วิธีปักทำได้ 2 แบบค่ะ
1. ปักเป็นรูป x ก่อนแล้วปักเป็น + ไว้ข้างบน ตามรูปภาพในแถวบน
2. ปักเป็น + ก่อนแล้วปัก X ไว้ข้างบน ตามวิธีปักรูปแถวล่าง
ลายปักที่ได้จะต่างกันนิดหน่อย ลองปักดูเล่นทั้งสองแบบก่อนแล้วเลือกแบบใดแบบหนึ่งตามชอบนะคะ
ตัวอย่างภาพในหลวงปักโดยใช้ไหม 2 เส้นเล็ก ปักตามวิธีปักแถวที่ 1 ค่ะ



การทำความสะอาด 
หลังจากปักเสร็จแล้วให้นำไปแช่โดยใช้น้ำยาซักแห้ง ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 นาที อย่าขยี้ผ้าแรง ๆ แค่ใช้มือลูบเบา ๆ คราบสกปรกก็หลุดแล้ว หลังจากนั้นซักด้วยน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้งแล้วผึ่งให้แห้งโดยไม่ต้องบิดและอย่าตากแดดจัดเกินไปนะคะ
การรีดให้รีดทางด้านหลัง โดยใช้ผ้าปิดทับอีกชั้นหนึ่งก่อน กรณีที่อยากให้ผ้าแข็งอยู่ตัวก็อาจจะใช้น้ำยาอัดกลีบฉีดพรมก่อนรีดด้วย เวลาเข้ากรอบจะได้ดูสวยและเข้ากรอบได้ง่ายด้วยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น