วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ข้อมูล เทคนิคเกี่ยวกับงานปักเสื้อ ปักโลโก้ ปักอาร์ม ปักตราสัญลักษณ์

ข้อมูล เทคนิคเกี่ยวกับงานปักเสื้อ ปักโลโก้ ปักอาร์ม ปักตราสัญลักษณ์




วีราเน่กาว
Nonwoven Fusible Interlining

รายละเอียดสินค้า
วัตถุประสงค์/คุณสมบัติ

1. ใช้ในกลุ่มโรงงานปัก และกลุ่มโรงงานการ์เม้นท์

2. กลุ่มโรงงานปัก - นำวีราเน่กาวมารีดติดกับผ้า หลังจากรีดแล้วนำมาปักทันที

3. กลุ่มโรงงานการ์เม้นท์ - นำวีราเน่กาวมารีดติดกับผ้า เพื่อทำปก หรือสาบเสื้อ

4. สามารถใช้รีดกับผ้าที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้าง



ข้อดี

1. สำหรับงานปัก ผ้าที่รีดด้วยวีราเน่กาว ทำให้ลายปักออกมาสวยงาม ไม่ย่น เป็นที่ยอมรับ

2. สำหรับงานการ์เม้นท์ การรีดวีเรเน่กาวกับผ้าจะทำให้ผ้าอยู่ทรงมากขึ้น ทนขึ้น ตัดเย็บง่าย

3. รีดง่าย ติดทน ทนการซักล้าง ผ้าที่รีดด้วยวีเรเน่กาวจะอยู่ทรงสวยงาม

4. มีความเหนียวจึงช่วยรั้งไม่ให้ด้ายล่างขึ้นมาด้านบน





ผ้าวีราเน่กาว ชนิดไข่ปลา
Dot Fusible Interlining/Formaldehyde Free

รายละเอียดสินค้า
วัตถุประสงค์/คุณสมบัติ

1. ใช้ในกลุ่มโรงงานการ์เม้นท์ และโรงปัก

2. สินค้ามีคุณภาพสูง ใช้รีดสาบเสื้อเพื่อให้ผ้าอยู่ตัวดี มีคุณภาพสูงสุด

3. ใช้รองปัก - นำวีราเน่กาวมารีดติดกับผ้า หลังจากรีดแล้วนำมาปักได้ทันที

4. เหมาะสำหรับงานการ์เม้นส่งออก หรืองานที่เน้นคุณภาพ



ข้อดี

1. สำหรับงานปัก ผ้าที่รีดด้วยวีราเน่กาวชนิดไข่ปลานี้ ทำให้ลายปักออกมาสวยงาม ไม่ย่น เป็นที่ยอมรับ

2. สำหรับงานการ์เม้นท์ การรีดวีเรเน่กาวชนิดไข่ปลากับผ้าจะทำให้ผ้าอยู่ทรงมากขึ้น ทนทานขึ้น ตัดเย็บง่าย

3. รีดง่าย ติดทน ทนการซักล้าง

4.ยืดอายุการใช้งานของผ้า

5. มีความเหนียวจึงช่วยรั้งไม่ให้ด้ายล่างขึ้นมาด้านบน

6.ไม่บาดผิว ไม่ระคายเคือง

7.ไม่แข็งตัวหลังจากโดนน้ำ จึงไม่ทำให้ระคายเคือและบาดผิวหนัง


สี ขาว ดำ เทา สารเคมี ปลอดสารฟอร์มาลิน


วีเรเน่ฉีกง่ายพิเศษ ไร้สาร กันไฟลาม
Gem Super Tear-ST 7070 R/Formaldehyde Free

รายละเอียดสินค้า
วัตถุประสงค์/คุณสมบัติ

1. ปลอดสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ใช้ในกลุ่มโรงงานปัก

2. เหมาะสำหรับเสื้อผ้าเด็ก งานคุณภาพสูงเพื่อการส่งออก

3. ใช้รองหลังงานปัก แทนตัวฉีกแบบเก่าที่มีสารฟอร์มาลินมาก

4. เป็นผ้าวีราเน่ฉีกง่ายพิเศษ ไร้สาร
    - Free Formaldehyde Content (BS EN ISO 14184-1:1999) : Not Detectable
    - Absorbency 0.003

5. เป็นผ้าวีราเน่ฉีกง่ายพิเศษ ไร้สาร กันไฟลาม
    - Flammability Test per Flammable Fabrics Act, 16 CFR, Chapter 11 (1/1/01 Edition), Part 1610
      Flammability Classification : Class 1 Original State : IBE
    - After Dry - Cleaning & Washing : IBE (IBE = Ignited But Exitnguished)



ข้อดี

1. ไม่มีความคมทำให้เส้นด้ายไม่ขาดบ่อย

2. ไม่แข็งตัวหลังจากโดนน้ำ จึงไม่ทำให้ระคายเคืองและบาดผิวหนัง

3. มีความเหนียวจึงช่วยรั้งไม่ให้ด้ายล่างขึ้นมาด้านบน

4. ฉีกง่ายพิเศษ ฉีกได้ 2 ทาง หลังจากงานปักเสร็จ

5. ฉีกออกได้หมด และทำให้หลังลายปักนุ่ม ไม่ระคายผิว


สี ขาว ส่วนผสม 100% Polypropylene


ฟิล์มมหัศจรรย์รองปัก
Magic Film/Formaldehyde Free

รายละเอียดสินค้า
วัตถุประสงค์/คุณสมบัติ

1. ใช้ในกลุ่มโรงปัก

2. รองลายปักด้านบน ไม่ทำให้ลายปักจม หลังจากปักเสร็จแล้ว สามารถละลายออกได้ง่าย

3. รองลายปักด้านล่าง ไม่ทำให้ลายปักย่นหรือชำรุด หลังจากปักเสร็จแล้ว สามารถละลายออกได้ง่าย

4. ใช้รองปักแทนวีราเน่ฉีกทั่วไป

5. หลังจากปักเสร็จนำมารีดบนเตาจะละลายออกโดยไม่ทิ้งเศษหลงเหลือไว้บนลายปัก

6. เหมาะสำหรับงานการ์เม้นท์ส่งออก หรืองานที่เน้นคุณภาพ



ข้อดี

1. ไม่มีความคมเท่าวีราเน่ฉีกทั่วไปจึงไม่ทำให้เส้นด้ายขาดบ่อย

2. มีความเหนียวกว่าวีราเน่ฉีกทั่วไป จึงสามารถรั้งฝีเข็มและทำให้ผ้าไม่แตก

3. ช่วยลดปริมาณขยะในโรงงานจากการใช้วีเรเน่ฉีก

4. ช่วยลดอาการระคายเคืองผิวที่เกิดจากวีเรเน่รองปัก

สี ใส สารเคมี ปลอดสารฟอร์มาลิน



การเก็บรักษา

1. ควรเก็บไว้ให้ห่างจาก เด็ก เปลวไฟ แสงแดด ความร้อน และความชื้น

2. ควรเก็บไว้ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทสะดวก

3. ควรเก็บในที่แห้งและความชื้นต่ำ

4. ควรเก็บในถุงพลาสติกทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ เพื่อไม่ให้สัมผัสกับความชื้นและฝุ่น



หมายเหตุ

ควรทำการทดสอบกับผ้าที่ใช้ทุกครั้ง **(Pre testing is required)



วีราเน่แข็ง
Hard Type Nonwoven

รายละเอียดสินค้า
วัตถุประสงค์/คุณสมบัติ

1. ใช้ในกลุ่มโรงงานปัก และกลุ่มโรงงานการ์เม้น

2. สามารถใช้รองปักได้ดี

3. ตัดออกได้ง่ายหลังจากปักงานเสร็จเรียบร้อย

4. เหมาะกับผ้าที่โครงสร้างอ่อนและต้องการให้ผ้าแข็งแรงขึ้นเพื่อให้งานปักออกมาสวยงาม



ข้อดี

1. ทนกว่าวีราเน่นิ่ม มีโครงสร้างที่แข็งแรงกว่าวีราเน่นิ่ม

2. มีความเหนียวจึงช่วยรั้งไม่ให้ด้ายล่างขึ้นมาด้านบน

3. ประหยัด ลดปัญหาเรื่องการต้องรองด้วยวีราเน่แบบนิ่มหลายชั้น

4.งานปักสวย ช่วยลดการหดตัวของผ้ายืดที่ใช้ในการปัก


สี ขาว สารเคมี สารฟอร์มาลินต่ำ
ความหนาสูงสุด มีตั้งแต่ 40H (หนาน้อย) ไปจนถึง 200HH (หนามาก)



วีราเน่ฉีกง่ายพิเศษ EENF (ปลอดสาร ฟอร์มาลีน)
Low Formaldehyde Nonwoven, Formaldehyde Free, Fusible Tearaway

รายละเอียดสินค้า
วัตถุประสงค์/คุณสมบัติ

1. ใช้ในกลุ่มโรงงานปัก ใช้รองหลังงานปัก แทนตัวฉีกแบบเก่าที่มีสารฟอร์มาลินสูง

2. เหมาะกับลายปักที่ต้องการฉีกง่ายพิเศษ หลังจากปักเสร็จ



ข้อดี

1. ฉีกง่ายพิเศษ ฉีกได้ 2 ทาง หลังจากปักงานเสร็จ

2. ไม่มีความคมทำให้เส้นด้ายไม่ขาดบ่อย

3. ไม่แข็งตัวหลังจากโดนน้ำ จึงไม่ทำให้ระคายเคืองและบาดผิวหนัง

4.มีความเหนียว จึงช่วยรั้งไม่ให้ด้ายล่างขึ้นมาด้านบน


สี ขาว ส่วนผสม รีไซเคิล คอตต้อน สารเคมี สารฟอร์มาลินต่ำ 

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคนิคและการปักในแบบต่างๆ รับปักอาร์ม รับปักเสื้อ รับปักโลโก้ รับปักตราสัญลักษณ์

เทคนิคและการปักในแบบต่างๆ รับปักอาร์ม รับปักเสื้อ รับปักโลโก้ รับปักตราสัญลักษณ์

     เราพร้อมจะพัฒนาวิธีการปักใหม่ๆ ให้ได้งานปักที่แตกต่างหรืองานปักเครื่องที่ทำให้ดูเหมือนงานปักมือ หรือแม้แต่การปักเลียนแบบเครื่องจักรชนิดอื่นเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับลูกค้าในราคาที่ย่อมเยากว่าวิธีดั้งเดิม

บล๊อคปักที่เราใช้ควบคุมโดยช่างปักที่ชำนานงานปักจากการคุมเครื่องปักจริง ทำให้การทำงานตั้งแต่ขั้นตอนคุยแบบไปจนถึงส่งงานให้ลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น และทำให้สามารถแกะวิธีปักใหม่ๆได้ โดยยังคำนึงถึงการทำงานเมื่อลงงานจริงว่าต้องทำได้จริง ไม่ว่าจะปักชิ้นเดียวหรือปักหนึ่งพันชิ้น นอกจากนี้เราสามารถเดินฝีเข็มปักในแบบต่างๆตามการออกแบบของคุณ
            
 ไซส์ปัก
 ปักผ้าหลา
  
 ไหมปัก
 เทคนิคพิเศษ
 
 ปักอาร์ม

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หลักการตรวจเช็คแรงดึงฝืดตึงของด้ายในแต่ละสี

ร้านปักเสื้อ เชียงใหม่, รับปักเสื้อ เชียงใหม่, ร้านปักเสื้อ แม่ริม, รับปักเสื้อ แม่ริม โทร. 093-2451009, 061-9028690

1.ปรับความตึงของด้ายที่จุดที่ 1. เป็นจุดหลักที่มีแรงบีบให้มีความฝืดตึงเป็นอันดับแรก(ถ้าเป็นจักรแบบไม่มีสายท่อยาง  เวลาปักงานจะมองเห็นความชัดเจนความตึงของด้ายชัดเจนมาก ถ้าเส้นด้ายสะบัดตอนปักงานก็ปรับเพิ่มแรงบีบของจุดบนให้บีบแน่นขึ้นนั่นเอง)

2. ปรับความตึงในจุดที่ 2. เป็นจุดตาม (เน้นปรับความตึงหย่อนของด้ายที่จุดที่ 1 เป็นหลัก)

3.ในจุดที่ 3 หนวดกุ้งของจักรรุ่นนี้ทำจุดปรับหนวดกุ้งไว้ที่จุดเดียวกันทั้งหมด(ถือเป็นหลักเทคนิคที่ไม่ดีในการออกแบบเครื่อง เพราะเราไม่สามารถปรับความแข็งแบบอิสระให้หนวดกุ้งเฉพาะสีเข็มได้ แต่จักรรุ่นใหม่ๆเขาพยายามทำกันแบบนี้เพื่อลด Cost ต้นทุนการผลิตเครื่องจักร)
   ในจุดนี้เจ้าของเครื่องต้องรู้จักปรับระดับความแข็งของหนวดกุ้งให้เข้ากับด้ายของตัวเองที่ใช้ เพราะคุณสมบัติของโลหะ เมื่อสัมผัสดับด้ายที่ผลิตจากวัสดุชนิดต่างกันย่อมให้ผมการไหลลื่นของด้ายที่ต่างกัน

หลักการตรวจเช็คแรงดึงฝืดตึงของด้ายในแต่ละสี

1.ให้ดึงด้ายในจุดล่างของเครื่องที่ร้อยด้ายผ่านหนวดกุ้งแล้ว ดึงทดสอบด้วยแรงการไหลลากธรรมะดา(ไม่ใช่การดึงแบบกระชาก)ดึงให้เหมือนธรรมะชาติของการปักงานที่ด้ายมีการวิ่งที่พอดี ถ้าอยากรู้ว่าแรงบีบที่มีเกิดจากจุดไหนมากที่สุด ท่านก็ลองเอามือไปยกไม่ให้เกิดแรกบีบที่จุด 1 หรือ 2 ดู (ยกที่ละจุด) ท่านก็จะรู้เองว่าจุดไหนมีแรงบีบน้อย แรงแบีบมาก และท่านสมควรลด หรือ เพิ่มแรงบีบที่จุดไหน (เน้นปรับที่จุด 1 เป็นหลักก่อนนะครับ ถ้าบีบจุดหนึ่งแล้วมันยังฝืดไม่พค่อยมาบีบจุด 2 ) 
เทคนิคการปรับงานทุกอย่างที่ถูกต้องคือ การปรับให้ค่าแรงดึงต่างๆใกล้เคียง 0 (ศูนย์) คือการไม่ให้มีแรงดึงก่อนแล้วปักงานดู แล้วจึงค่อยๆปรับเพิ่มแรงดึงให้กับมันครับ ไม่ใช่เริ่มปักงานก็ตะบี้ตะบันหลับหูหลับตาปรับให้ดึงให้ฝืดให้แน่นสถานเดียว เทคนิคนี้ใช้กับทั้งการปรับด้ายบนและด้ายล่างครับ
2. ลองกดหนวดกุ้งลงแต่ละระดับ แล้วลองดึงด้ายดูไปด้วย จะเห็นความดระด้างของด้ายที่ฝืดเพิ่มขึ้น เมื่อสปริงมีความแข็งที่ต่างกัน ข้อเสียของการออกแบบปรับสริงที่จุดเดียวแล้วคุมได้ทุกเข็มคือ ถ้าเราใช้ด้ายหลายยี่ห้อหลายชนิด ซึ่งด้ายแต่ละชนิดความหนึดของด้ายไม่เท่ากันอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อลดปัญหาในการปรับเครื่องให้เจ้าของเครื่องเลือกใช้ด้ายยี่ห้อเดียวที่ท่านคิดว่าเครื่องท่านปักได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นแบบโพลี หรือ เรยอน ครับ เพราะถ้าท่านปรับไม่เก่งปัญหามันเกิด แต่ถ้าท่านปรับเก่งเข้าใจหลักการท่านเลือกใช้แบบไหนหรือหลายแบบก็ได้




การปรับความตึงของด้ายล่าง

ดูในครับที่สมาชิกรุ่นเก่าๆเคยทำไว้ที่บ้าน thai.sewsense.com ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=ywomJTKVkhc&feature=youtu.be#

ส่วนวิธีการอเากระสวยใส่เข้าไปในกระโหลก ตามรูปนี้คือวิธีที่ถูกต้องและดีที่สุด ครับ 
โดย 1. จับกระโหลกด้วยมือซ้าย หันด้านใส่ด้ายเข้าหาตัวเรา
     2. จับกระสวยด้วยมือขวา โดยให้อยู่ในลักษณะดังรูป ใส่เข้าไปในกระโหลกแล้วดึงตรวจสอบความตึงของด้ายทุกครั้งที่มีการเปลี่ยด้ายล่าง เพื่อเราจะได้รู้ว่าด้ายล่างฝืดึง หรือหย่อนไปหรือไม่ ครับ


เทคนิคการเปลี่ยนกระสวยด้ายล่าง คิดแบบการทำงานอุตสาหกรรม สำหรับจักรปักหายหัว

วิธีที่ 1 เปลี่ยนด้ายล่างใหม่ทั้งหมด 
ข้อดี เครื่องจะมีปัญหาการหยุดเพราะด้ายล่างหมดเพียง 1 ครั้ง กระสวยปันทั่วไปถ้าด้ายล่างเบอร์เล็กจะสามารถปักงานได้เกิน 1 หมื่นฝีเข็มอยู่แล้ว เครื่องจักรเดินเรียบไม่หยุดบ่อยปัญหางานปักเสียปักไม่เต็มเพราะด้ายล่างหมด ไม่มี

ข้อเสีย ด้ายหมดไม่เท่ากันจำเป็นต้องดึงด้ายในส่วนที่เหลือทิ้ง

วิธีที่ 2 เปลี่ยด้ายล่างแบบแยกกลุ่มหัว เช่น หัว 1-5  6-10  11-15  16-20  ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เมื่อด้ายล่างในกลุ่มนั้นหมดก็ทำการเปลี่ยนด้ายล่างแบบยกชุดในกลุ่มนั้นเลย วีธีนี้จะทำให้เราเห็นว่าหัวไหนด้ายมักหมดก่อน หมดเพราะด้ายล่างดึงหน้อยกว่าหัวอื่นก็ปรับความดึงเพิ่มขึ้นเพื่อให้ด้ายหมดใกล้เคียงกัน และด้ายหัวไหนที่เหลือเยอะเราก็เก็บไว้เปลี่ยนในกลุ่มอื่นที่ด้ายหมดก่อนได้เพื่อลดภาระการดึงด้ายทิ้งเยอะ

ข้อดี อาจเสียเวลาเปลี่ยนด้ายล่างน้อยลง 

ข้อเสีย เกิดปัญหาเครื่องหยุดเพราะด้ายล่าง 5 ครั้งขึ้นไป


วิธีที่ 3 เปลี่ยนด้ายล่างทีละหัวเมื่อด้ายล่างหมด อันนี้เป็นวิธีแบบชาวบ้านๆทั่วไปใช้กันอยู่ 

ข้อดี ไม่ต้องคิดมากด้ายหมดก็เปลี่ยน 

ข้อเสีย ถ้าปักงานฝีเข็มเยอะๆระดับ 7 พันเข็มหรือ หมื่นเข็มขึ้นไป หรือ 2 3 4 หมื่นฝีเข็ม กว่าจะจบงานปัก 1 ชุด จะเกิดปัญหาเครื่องหยุดเพราะด้ายล่างหมดถึง 20 ครั้ง  เสียเวลาย้อนปักงานซ่อม ประเดินปักหลายสี อาจมีบางงาน บางสีงานปักไม่จบแล้วเครื่องเปลี่ยนไปปักสีอื่นจึงโชว์ด้ายหมด ทำให้งานชิ้นนั้นเป็นงานเสียได้ เป็นต้น ถ้าใครใช้จักปักหลายหัวแล้วมาเลือกเปลี่ยด้ายล่างทีละอันเมื่อด้ายหมด สำหรับผมถือว่าวิธีการคุมเครื่องไม่เข้าใจระบบการทำงานแบบอุตสาหกรรม ทำให้เครื่องหยุดบ่อย เครื่องมีโอกาศเสียบ่อย การทำงานเกิดความล่าช้าเป็นต้น

ประเด็นงานฝีเข็มทั่วไปผมจะใช้วิธีที่ 2

ประเด็นปักงานด้ายสีขาวก็ใช้วิธีที่ 3 เพราะไม่ซีเรียสเรื่องย้อนซ่อมงานแล้วด้ายล่างสีขาวโผล่ขึ้นมา เป็นต้น

ประเด็นงานฝีเข็มหลายหมื่นฝีเข็มจะใช้วิธีที่1   หรือประเด็นที่ต้องปักงานฝีเข็มเยอะๆ ผมจะเลือกดึงด้ายล่างออกมาเช็คทุกหัวก่อน หัวไหนเหลือน้อยกว่า 80 เปอร์เเซนต์ก็จะเอาออก เอาด้ายเต็มใส่เข้าไปแทน แล้วเก็บด้ายล่างนั้นไว้เปลี่ยนหัวที่หมดก่อน หรือเอาไว้ใช้กับงานฝีเข็มน้อย เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความรู้เรื่องเข็ม ร้านปักเสื้อ เชียงใหม่

ความรู้เรื่องเข็ม ร้านปักเสื้อ เชียงใหม่

เข็มเป็นส่วนสำคัญในการเย็บจักร การเข้าใจในการเลือกใช้ชนิด ขนาด และการดูแลเข็มจักร จะทำให้สร้างผลงานตัดเย็บที่สวยงาม
ไม่มีปัญหาติดขัดค่ะ ต้องเปลี่ยนเข็ม… เมื่อเข็มทื่อ สังเกตจาก ฝีเข็มกระโดด เสียงดัง(ปุกๆๆ) เพราะเข็มทื่อจึงไปสะกิดเส้นใยผ้าทำให้ผ้าย่นหรือรั้งค่ะ
เข็มเย็บผ้าที่บริษัทนำเข้ามาขาย คือยี่ห้อ SCHMETZ เป็นเข็มคุณภาพดีจากเยอรมันค่ะ
การดูเข็ม
เข็มเย็บผ้า ที่เราใช้กับจักรเย็บผ้าเอลวิร่าเป็นเข็มที่ใช้เฉพาะกับจักรบ้าน รูปตัวอย่าง ยี่ห้อ SCHMETZ จากเยอรมัน มีวิธีดูตามรูปตัวอย่างนะคะ
ระบบ
130/705 H เป็นเข็มสำหรับจักรบ้าน ซึ่งก้านเข็มอีกด้านแบน เวลาใส่จักรให้เอาด้านแบนหันออกนอกตัวเราค่ะ
การใช้งาน
Universal เป็นประเภทเข็มใช้ทั่วไป กรณีเป็นเข็มสำหรับผ้าพิเศษจะมีบอกค่ะ เช่น H-S (Stretch) ใช้กับผ้ายืด , H-J (Jeans/Denim) ใช้กับ ยีนส์
ขนาดเข็ม
80/12 คือขนาดเข็มค่ะ ระบบยุโรปเบอร์ 80 และระบบอเมริกันเรียกเบอร์ 12 ขนาดเข็มมีให้เลือกตั้งแต่ขนาดเล็ก – ใหญ่ 
ควรเลือกให้เหมาะกับการเย็บแต่ละและเนื้อผ้าค่ะ
เลือกขนาดเข็ม
เพื่อให้ชิ้นงานเย็บออกมาดี ควรเลือกใช้เข็ม ด้าย ให้พอดี เหมาะสมกับชนิดของผ้า โดยดูจากขนาดความโตของเว้นด้าย
หากใช้ด้ายเส้นเล็กบางเบา ควรใช้เข็มขนาดเล็ก  หากใช้เข็มขนาดใหญ่ก็ควรใช้ด้ายขนาดใหญ่
      
ขนาดเข็มจักรเย้บผ้าเริ่มตั้งแต่ขนาดเล็ก-ใหญ่ สำหรับยี่ห้อ SCHMETZ จากเยอรมันเป็นเข็มระบบยุโรปค่ะ
     
ชนิดของเข็ม
เพื่อลดปัญหาในการเย็บผ้าชนิดพิเศษต่างๆ ควรเลือกเข็มให้เหมาะกับเนื้อผ้าที่มีเส้นใยแตกต่างกัน
เข็มเย็บผ้าธรรมดา 130/705 H
มีหลายขนาด เลือกให้เหมาะกับเนื้อผ้า การเลือกขนาดเข็มค่ะ
           
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 60
เป็นเข็มเย็บผ้าขนาดเล็ก ออกแบบมาให้เหมาะกับการเย็บผ้าเนื้อบางๆ เช่น ผ้าชีฟอง ผ้าแก้ว ผ้ามัสลิน ควรใช้คู่กับด้ายเส้นเล็ก
เช่น ด้ายโพลีเอสเตอร์ เมื่อเย็บแล้วจะได้ตะเข็บที่ สวยเนียนกลมกลืนกับเนื้อผ้า
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 70
เหมาะกับการเย็บผ้าเนื้อบาง เช่น ผ้า สำหรับชุดเด็ก ผ้ามัสลิน ผ้าแพร ควรใช้คู่กับด้ายเส้นเล็ก
ข้อแนะนำ : การเย็บผ้าเนื้อบางมากๆ การใช้คู่กับตีนผีเย้บผ้าบางจะช่วยให้ตะเข็มสวยงามมากขึ้นค่ะ
ข้อควรระวัง : เข็มขนาดเล็กมากไม่สามารถใช้ที่สนเข็มอัตโนมัติได้ต้องสนเข็มด้วยมือค่ะ
            
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 75
เหมาะกับการเย็บผ้าเนื้อบางถึงปานกลาง เช่น ผ้า สำหรับชุดเด็ก ผ้ามัสลิน ผ้าแพร ควรใช้คู่กับด้ายเส้นเล็ก และใช้คู่กับไหมปักในกรณีที่ปักลวดลายต่างๆ
เย็บเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 80
เหมาะสำหรับผ้าธรรมดาทั่วไปเนื้อปานกลาง เช่น ผ้าคอตตอน ผ้าซาติน ผ้าลินิน ผ้าขนสัตว์เนื้อบาง สามารถใช้ได้กับกับด้ายเย็บทั่วไป ด้ายเมจิกสปัน
         
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 90
ใช้เย็บผ้าธรรมดาทั่วไปเนื้อปานกลาง-หนา เช่น ผ้าคอตตอนเนื้อหนา
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 100
ใช้เย็บผ้าธรรมดาทั่วไปเนื้อหนา เช่น ผ้าทำกระเป๋า ผ้าใบ
เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 110
ใช้เย็บผ้าธรรมดาทั่วไปเนื้อหนาพิเศษ เช่น ผ้าทำกระเป๋าเนื้อหนา ผ้าใบ
          
เข็มจักรแซกริมผ้า EL X 705
จักรแซกริมผ้าหรือเรียกง่ายๆ ว่าจักรโพ้ง เป็นการแซกริมผ้าที่เกิดจากการถักคล้องกันด้วยด้าย 3-4 เส้น ซึ่งมีเข็มด้ายบนและตัวคล้องด้ายด้านล่างสองอันที่เรียกว่า
Loop ถักกัน เป็นตะเข็บแวกริมผ้าสวยงาม เข็มจักรแซกริมผ้า มีร่องเข็ม 2 ด้าน ทั้งหน้าและหลัง (เข็มที่ใช้กับจักรเย็บผ้าธรรมดามีร่องเข็มด้านเดียว)
เพื่อความสะดวกในการถักคล้องกัน จึงเหมาะกับจักรโพ้งค่ะ
หมายเหตุ
จักรแซกริมผ้าเราสามารถใช้เข็มจักรธรรมดาเย็บได้ แต่เพื่อให้การโพ้งราบรื่นขึ้น ตะเข็บสวยงาม จึงนิยมเลือกใช้เข็มจักรแซกริมผ้าค่ะ
            
เข็มควิลท์ติ้ง 130/705 H-Q
บอดี้เข็มผอมเรียว ปลายเข็มกลมมน สามารถเย็บผ่านใยโพลีเอสแตอร์ได้ดี ออกแบบมาสำหรับงานควิลท์โดยเฉพาะ
ช่วยให้เรา Quilt, Appliqué, Patchwork บนใยโพลีเอสเตอร์ ได้ง่าย นิ่มนวล ลื่น ได้ผลงานที่ปราณีตยิ่งขึ้น
            
เข็มเย็บผ้ายืด 130/705 H-S
ผ้ายืดทอแบบห่วง (knitting) มีความยืดหยุ่น เข็มเย็บผ้ายืดจะช่วยให้เย็บง่าย และควรใช้ตะเข็บที่มีความยืดหยุ่นสูงและฝีเข็มสวยปราณีตค่ะ
เข็มถูกออกแบบมาให้มีปลายมน เพื่อลดการฉีกขาดของเส้นใยผ้ายืด และลดปัญหาตะเข็บกระโดด ผ้ายืดเนื้อบาง-ปานกลาง เช่น ผ้าเจอร์ซี่
ผ้าชุดว่ายน้ำ ผ้ายืดเนื้อบาง-ปานกลางนิยมใช้เบอร์ 75 ผ้ายืดเนื้อปานกลาง- หนา นิมยมใช้เบอร์ 90
                 
เข็มเย็บยีนส์ 130/705 H-J
ออกแบบมาให้มีปลายแหลมพิเศษ เพื่อสามารถเย็บผ้ายีนส์ ซึ่งเป็นผ้าเนื้อแข็ง ได้อย่างแนบเนียน สวยงาม
           
เข็มเย็บหนัง 130/705 H-LL
ออกแบบมาให้มีปลายแหลมเหมือนปลายหอก เพื่อให้สามารถเย็บหนังได้อย่างสะดวก ไม่ควรใช้เข็มเย็บหนังไปเย็บผ้าธรรมดา เพราะจะทำให้เกิดความเสียหาย
เข็มเย็บผ้าเพื่อการตกแต่ง
      
เข็มพาย 130/705 H-WING
เป็นเข็มที่มีปีกเพื่อถ่างผ้าให้เกิดรูตลอดแนวที่เย็บ เข็มจะเจาะผ้าเป็นรูและด้ายจะมัดรูนั้นเอาไว้ให้เกิดเป็นลวดลาย
ใช้ตกแต่งงานปักฉลุ (Hemstitch) Heirloom เข็มพายออกแบบมาให้มีปีกคล้ายใบพายเพื่อถ่างผ้าให้เกิดรูตลอดแนวที่เย็บ
และเส้นด้ายจะไปมัดรูที่เย็บไว้ ใช้เย็บงานปักเฉลุ Heirloom นิมยมตกแต่งเสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าสุภาพสตรี ผ้าม่าน ของใช้อื่นๆ
ข้อแนะนำ : เพื่อให้การเจาะฉลุเกิดรูชัดเจนควรใช้กับผ้าคอตตอน ลินิน และมัสลินค่ะ
               
เข็มคู่ 130/705 H-TWIN
ออกแบบมาพิเศษ ให้มีเข็ม 2  เล่มในก้านเดียวกัน ใช้ได้เส้นตรงและลายตกแต่งค่ะ
1. ด้ายบน ให้ด้าย 2 เส้นโดยกรอด้ายใส่ไส้กระสวย 2 อัน ร้อยด้ายตามปกติ แล้วแยกร้อยใส่ปลายเข็มทั้ง 2
2. เวลาร้อยด้ายเข้าเข็มไม่สามารถใช้ที่สนเข็มได้ ต้องใช้มือสนเข็มเองค่ะ
 3. ด้านล่างใส่ไส้กระสวยตามปกติค่ะ
         
ข้อแนะนำ : เข็มคู่เป็นเข็มที่มี 2 เล่มในก้านเดียวกันเวลาเย็บลายปักจึงกว้างขึ้นกว่าปกติ ทำให้ เข็มไปชนตีนผีเป็นสาเหตุให้เข็มหักได้
ดังนั้นเพื่อป้องกันเข็มหัก ต้องลดความกว้างของลายให้น้อยลง ลดความตึงด้ายบนลงเล็กน้อย เริ่มเย็บช้าๆ ไม่ควรใช้ความเร็วมากเกิน ไปค่ะ
เข็มจักรที่มาพร้อมกับจักรเย็บผ้า ELVIRA
     
เมื่อซื้อจักรเย้บผ้าเอลวิร่ารุ่น Renova Touch, Party, Innova Plus, Diana Plus  จะมีเข็มให้ 1 กล่อง
     – เข็มเย็บผ้าธรรมดา เบอร์ 75  จำนวน 2 เล่ม สำหรับเย็บผ้าเนื้อปานกลาง
     – เข็มเย้บผ้าธรรมดา เบอร์ 90 จำนวน 2 เล่ม สำหรับเย็บผ้าหนา
     – เข็มเย็บผ้ายืด จำนวน 1 เล่ม  ก้านเข็มแต้มสีน้ำเงิน  (กรณีมาซื้อเพิ่มเข็มยี่ห้อ SCHEMETZ ของเยอรมันใช้ก้านเข็ม สีเหลืองทองค่ะ)
     
เมื่อซื้อจักรเย็บผ้ารุ่น Smoothie, Sweetie  ในกล่องอุปกรณ์จะมีเข็มให้ 1 ห่อ
เข็มจักรเย็บผ้าธรรมดาเบอร์ 14 เหมาะกับการเย็บผ้าหนา (เมื่อเทียบเข็ม SCHMETZ ระบบยุโรป เทียบกับเบอร์ 90 ค่ะ)
เมื่อไหร่ ต้องเปลี่ยนเข็ม
1. เมื่อเข็มทื่อ เราควรจะเปลี่ยนเข็มใหม่ สังเกตจากฝีเข็มกระโดด เสียงดัง(ปุกๆๆ) หรือเข็มทื่อจึงไปสะกิดเส้นใยผ้าทำให้ผ้าย่นหรือรั้ง
2. เมื่อเข็มงอ วิธีสังเกต วางด้านเรียบของเข็มบนพื้นเรียบๆ เช่น กระจก  หากเข็มงอจะเห็นได้ชัดเจนค่ะ