วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แนะนำการปักหมวกสำหรับมือใหม่

1. สร้างลายปัก
   1.1 สร้างลายปักตามต้องการด้วยการพิมพ์ข้อความ  เลือกฟอนต์  จัดช่องไฟ  ใส่ส่วนประกอบเพิ่มเติมให้สวยงามครับ (ดูตัวอย่างจากไฟล์แนบครับ)
      - ขนาดลายปักสำหรับปักหน้าหมวกประมาณ 6x15cm แต่ผมปัก 5.5x14 เผื่อไว้นิดหน่อย
      - ความหนาแน่นของไหมประมาณ 0.25 - 0.32  แล้วแต่ขนาดตัวอักษร  (ตัวใหญ่แน่นมาก  ตัวเล็กแน่นน้อยลง)
      - รองพื้นใช้ Center Run ก็พอ
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 1000x528 พิกเซล.


1.2 การตั้งจุดเริ่มปัก ปกติผมจะเซฟลายตามปกติโดยตั้งจุดเริ่มปักไว้ที่จุดกึ่งกลางล่างค่อยไปหมุนลายในจักรตอนปัก แต่บางท่านอาจจะหมุนลายก่อนเซฟเข้าจักรก็จะตั้งจุดเริ่มปักไว้ที่จุดกึ่งกลางบน
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 1000x528 พิกเซล.


ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 1000x528 พิกเซล.


1.3 เซฟลายและส่งลายปักเข้าจักรตามปกติ


2. การติดตั้งชุดขับสะดึงหมวกเข้ากับจักรปัก
   ชุดขับสะดึงหมวกมีลักษณะดังรูป (อ้างอิงจากของ Ricoma หัวเดียวยี่ห้ออื่นก็คงจะคล้ายๆ กัน)  


   2.1 นำชุดขับสะดึงหมวกสอดประกอบเข้ากับจักรโดยสังเกตให้จุดล๊อคทั้ง 4 ตรงตำแหน่งที่จะล๊อคบนจักร


   2.2 ล็อคสะดึงหมวกติดกับจักรพออยู่  ไม่ต้องแน่นมาก


   2.3 ทดสอบการเคลื่อนที่ทั้งแกน x และแกน y 
   2.4 ถ้าการเคลื่อนที่สะดวกไม่ติดขัดก็ล๊อคแน่นได้เลยพร้อมติดตั้งสะดึงหมวก
   2.5 ถ้าการเคลื่อนที่ติดขัด ให้คลายสกรูล๊อคออกขยับตำแหน่งใหม่แล้วล๊อค ทดสอบการเคลื่อนที่อีกครั้งจนไม่ติดขัดจึงล็อคแน่น

3. ใส่หมวกเข้ากับสะดึงหมวก
   3.1 ประกอบสะดึงหมวกเข้ากับตัวช่วยซึ่งติดตั้งอยู่กับโต๊ะหรือจักร


   3.2 เปิดเข็มขัดรัดหมวกขึ้น


   3.3 คลี่ผ้าด้านในตรงขอบปีกหมวกออก


   3.3 ใส่หมวกเข้ากับสะดึงโดยให้ผ้าที่เราคลี่ออกมาปิดอยู่ด้านบนตามรูป


   3.4 ปรับหมวกให้อยู่กึ่งกลางสะดึงพอดีแล้วล็อคเข็มขัดรัดหมวกให้แน่น โดยให้ฟันของเข็มขัดรัดหมวกจิกลงบนรอยต่อระหว่างหน้าหมวกกับปีกหมวก



   3.5 ถอดออกชุดสะดึงหมวกออกจากตัวช่วยโดยกดปุ่มปลดล็อคทั้ง 3 ตัวแล้วดึงออกมา




4. ปักงาน
   4.1 ใส่สะดึงหมวกเข้ากับชุดขับเคลื่อนให้แน่น  สังเกตให้ตัวล๊อคทั้ง 3 จุดล็อคให้เรียบร้อย


   4.2 เรียกลายปักขึ้นมาแล้วหมุนลายปักกลับเอาหัวลงล่าง  ถ้าเราหมุนลายปักมาก่อนแล้วข้ามไป 4.3


   4.3 ตั้งจุดเริ่มปักบริเวณกึ่งกลางหมวก  สูงจากปีกหมวกขึ้นมา 1-2 ซม  แล้วตรวจสอบพื้นที่การปัก


   4.4 เริ่มปักงานไปจนเสร็จ (ความเร็วในการปักประมาณ 500-550)




   4.6 นำชุดสะดึงหมวกออกจากเครื่องโดยกดตัวล็อคทั้ง 3  แล้วดึงออก


   4.7 ปลดเข็มขัดรัดหมวก  เอาหมวกออกจากสะดึง


ที่มา. thaiemb.com

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ร้านปักเสื้อ เชียงใหม่, รับปักอาร์ม เชียงใหม่, รับปักโลโก้ เชียงใหม่, รับปักตราสัญลักษณ์ เชียงใหม่ โทร. 093-2451009



ร้านปักเสื้อ เชียงใหม่, รับปักอาร์ม เชียงใหม่, รับปักโลโก้ เชียงใหม่, รับปักตราสัญลักษณ์ เชียงใหม่ โทร. 093-2451009

ร้านปักเสื้อ เชียงใหม่, รับปักอาร์ม เชียงใหม่, รับปักโลโก้ เชียงใหม่





ร้านปักเสื้อ เชียงใหม่, รับปักอาร์ม เชียงใหม่, รับปักโลโก้ เชียงใหม่, รับปักตราสัญลักษณ์ เชียงใหม่ รับปักธง เครื่องหมาย ผ้าขนหนู ปักหมวก รับทำเสื้อกลุ่ม ชมรม องค์กร บริษัทฯ โทร. 093-2451009

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตารางคำนวนราคางานปัก รับปักเสื้อ เชียงใหม่ รับปักอาร์ม เชียงใหม่ รับปักโลโก้ เชียงใหม่

ตารางคำนวนราคางานปัก รับปั เสื้อ เชียงใหม่ รับปักอาร์ม เชียงใหม่ รับปักโลโก้ เชียงใหม่ ร้านปักเสื้อ เชียงใหม่

ราคา / 
จำนวนชิ้นงาน 
จำนวนชิ้นงาน
จำนวนชิ้นงาน 
จำนวนชิ้นงาน 
จำนวนชิ้นงาน 
พื้นที่ปัก 1 ตร. ซม.
1 - 20 ชิ้น
 21 - 40 ชิ้น
41 - 60 ชิ้น
61 - 80 ชิ้น
81 - 100 ชิ้น
ราคาขั้นต่ำสำหรับพื้นที่ปัก 20 ตร.ซม. แรก (ขนาดกว้าง ประมาณ 10 ซม. สูง 2 ซม.)
35
30
30
25
20
หลังจากนั้นราคาเพิ่มขี้น
75 สตางค์
75 สตางค์
75 สตางค์
75 สตางค์
75 สตางค์
 ตร. ซม. ละ





ค่าบล็อค
200 บาท / บล็อค
200 บาท / บล็อค
200 บาท / บล็อค
200 บาท / บล็อค
200 บาท / บล็อค






ราคา / 
จำนวนชิ้นงาน 
จำนวนชิ้นงาน 
จำนวนชิ้นงาน 
จำนวนชิ้นงาน

พื้นที่ปัก 1 ตร. ซม.
101 - 150 ชิ้น
151 - 200 ชิ้น
201 - 250 ชิ้น
 251 - 300 ชิ้น

ราคาขั้นต่ำสำหรับพื้นที่ปัก 20 ตร.ซม. แรก (ขนาดกว้าง ประมาณ 10 ซม. สูง 2 ซม.)
18
15
13
10

หลังจากนั้นราคาเพิ่มขี้น 
50 สตางค์
50 สตางค์
25 สตางค์
25 สตางค์

ตร. ซม. ละ





ค่าบล็อค
200 บาท / บล็อค
200 บาท / บล็อค
200 บาท / บล็อค
200 บาท / บล็อค







ราคา / 
จำนวนชิ้นงาน 
จำนวนชิ้นงาน 
จำนวนชิ้นงาน 
จำนวนชิ้นงาน 

พื้นที่ปัก 1 ตร. ซม.
301 - 350 ชิ้น
351 - 400 ชิ้น
401 - 500 ชิ้น
500 ชิ้นขึ้นไป

ราคาขั้นต่ำสำหรับพื้นที่ปัก 20 ตร.ซม. แรก (ขนาดกว้าง ประมาณ 10 ซม. สูง 2 ซม.)
9
8
7
6

หลังจากนั้นราคาเพิ่มขี้น 
20 สตางค์
20 สตางค์
20 สตางค์
20 สตางค์

ตร. ซม. ละ





ค่าบล็อค
ฟรี
ฟรี
ฟรี
ฟรี

ตัวอย่างพื้นที่ปัก 20 ตร.ซม

วิธีคำนวนราคาปักคร่าวๆ
1. ประมาณแบบงานปักของท่านว่ามีพื้นที่กี่ตร. ซม. (เทียบกับแถบสีตัวอย่าง)
2. เทียบราคาตามตารางจากจำนวนงานปักของท่าน
ตัวอย่างการคำนวน
เราต้องการปักเสื้อตามตัวอย่าง "โลโก้ลด เลิก บุหรี่" ขนาดสูง 6 ซม. กว้าง 7.5 ซม. จำนวน 70 ตัว
1. ประมาณพื้นที่ปักได้ 40 ตร. ซม. 
2. เทียบราคาจากตาราง
   20 ตร.ซม. แรกเท่ากับ 15 บาท
   20 ตร.ซม. ต่อมา ตร.ซม. ละ 75 สตางค์ (20 x 75)
    ราคาต่อชิ้นเท่ากับ 30 บาท (15 + 15)
3. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่ากับ 30 x 70 เท่ากับ 2,100 บาท รวมค่าบล็อค 200 บาท

   รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,300 บาท

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การทำเคสโทรศัพท์ด้วยกระดาษทรานเฟอร์

ทุกวันนี้ธุรกิจเคสโทรศัพท์มือถือเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเคสมือถือสำหรับสมาร์ทโฟนสังกัดค่ายต่าง ๆ เช่น iOS หรือ Android ก็ตาม เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีสมาร์ทโฟนใช้กันเเทบจะทุกเพศทุกวัน จึงทำให้สินค้าที่เป็น Accessories อย่างเคสโทรศัพท์ ถูกจัดหามาใช้กันอย่างมากมาย และมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ คือสามารถป้องกันการแตกร้าวเมื่อตกหล่น ป้องกันรอยขีดข่วน เพิ่มมูลค่าหรือบ่งบอกรสนิยมของผู้ใช้ เเละเพิ่มความสวยงามให้กับตัวโทรศัพท์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในแง่ธุรกิจต่อผู้ขาย เนื่องจากมีอัตรา การลงทุนที่ไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับกำไรที่ได้ เพราะเป็นสินค้าที่ใช้คู่กับสมาร์ทโฟนที่มีราคาเเพงพอสมควร จึงทำให้สามารถอัพราคาขายได้อย่างสมเหตุสมผล
กระดาษทรานเฟอร์
ตามที่เราเห็นกันตามท้องตลาด ก็จะมีเคสโทรศัพท์มากมาย หลายยี่ห้อ หลายแบบ หลายประเภท และหลายลวดลาย เอาละค่ะ เราจะมาเข้าเรื่องของเรากันค่ะ นั้นคือลวดลายของเคสโทรศัพท์ที่เราเห็นกันอยู่มากมายตามท้องตลาด ในความเป็นจริงเเล้ว คุณ สามารถทำเองได้นะคะ หรือทำเพื่อขายเองก็ได้เช่นกันค่ะ และที่ขาดไม่ได้ คือคุณต้องใช้กระดาษทรานเฟอร์เป็นตัวพิมพ์ลวดลายเหล่านั้นลงบนเคส วันนี้ Bestsublimationthai.com จึงขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับการทำเคสโทรศัพท์ด้วยกระดาษทรานเฟอร์ และที่สำคัญขอขอบคุณข้อมูลจาก http://blog.coastalbusiness.com/making-custom-mobile-device-covers/

กระดาษทรานเฟอร์
1. เลือกเคสที่คุณต้องการ ตามยี่ห้อเเละรุ่นโทรศัพท์ สามารถหาซื้อแบบราคาส่งได้ตามตลาดของของราคาส่งทั่วไปเลยค่ะ (ประมาณโหลละ 500.-) และที่สำคัญคือกระดาษทราน เฟอร์ (สั่งซื้อได้จากเว็บBestsublimationthai.com เลยจ้า)
กระดาษทรานเฟอร์
2. ตกแต่งลวดลายผ่านโปรแกรมตกแต่งรูปภาพ และใช้แม่แบบหรือ Template ที่สอดคล้องกับเคสที่คุณเลือกใช้และออกแบบภาพของคุณเพื่อให้พอดีกับพื้นที่ที่ถูกต้อง (ดูวิธีการสร้างหรือดาวน์โหลด Template ตามขนาดความกว้าง ความยาว ตามแต่ละรุ่น โทรศัพท์ได้จากเว็บเลยจ้า http://www.ahoodie.com/2010/12/23/make-your-own-iphone-4-back-cover-tutorial)
กระดาษทรานเฟอร์
3. ใช้เครื่องพิมพ์แบบขนาดเล็กระเหิดด้วยหมึก Sawgrass เพื่อพิมพ์ภาพของคุณ
กระดาษทรานเฟอร์
4. แนบภาพของคุณกับกระดาษทรานเฟอร์โดยใช้เทปความร้อน เพื่อให้แน่ใจว่าภาพของคุณจะไม่ขยับ หรือเลื่อนตำแหน่งในขณะที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการกด ซึ่งอาจจะก่อ ให้เกิดความเบลอหรือมีเงา
กระดาษทรานเฟอร์
5. ใช้เครื่องกดความร้อนในการถ่ายโอนภาพจากกระดาษทรานเฟอร์ไปยังเคสโทรศัพท์
กระดาษทรานเฟอร์
6. แขวนไว้ให้แห้งด้วยไม้หนีบ หรือผึ่งไว้ เเค่นั้นก็ได้เคสตามใจคุณเเล้วละค่ะ