โปรแกรม Wilcom 2006 เป็นเวอร์ชั่นแรกที่ทำรูปแบบแตกต่างไปจากโปรแกรมเวอร์ชั่นก่อน ๆ แต่คำสั่งและเครื่องมือต่าง ๆ นั้น ถ้าคนที่คุ้นเคยกับโปรแกรมเวอร์ชั่นเก่าอย่าง 7.1, 8.0 หรือ 9.0 จะสามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยากเย็นนัก เพราะคำสั่งต่าง ๆ แทบจะคล้ายกันแทบทั้งหมด ในบทแรก จะเป็นการแนะนำหน้าตา และ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรมกัน
1.สำหรับโปรแกรมเมื่อติดตั้งแล้วจะมีส่วนที่ใช้งานสองส่วนคือ ตัวโปรแกรมคือ Wilcom 2006 และ ส่วนสำหรับจัดการกับลายปักคือ Design Workflow(จะร่ายยาวในอีกส่วนหนึ่งครับเนื่องจากมีเนื้อหาที่มาก) สำหรับการใช้งานให้ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Wilcom 2006 ก็จะเป็นการเรียกโปรแกรมมาใช้งาน

2.นี่คือหน้าตาของโปรแกรม Wilcom 2006 จะเห็นว่ามีส่วนที่คล้ายคลึงกับเวอร์ชั่น 9.0 และ ก่อนหน้านั้นพอสมควร

3.สำหรับส่วนประกอบต่าง ๆ ของงโปรแกรมจะมีรายละเอียดดังนี้
3.1 Menu Bar ที่ด้านบนสุด(สีเหลือง) จะเป็นส่วนของคำสั่งของเมนูต่าง ๆ ของโปรแกรม
3.2 Toolbar (สีฟ้า) จะเป็นส่วนของการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรม ที่อยู่ในรูปของไอคอน โดยเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้จะอยู่ในกรอบเป็นหมวดหมู่ เราสามารถดึงกรอบต่าง ๆ มาจัดเรียบตำแหน่งได้ตามใจชอบ
3.3 Toolbar Docking (สีส้ม) ส่วนนี้จะเป็นที่เก็บเครื่องมือต่าง ๆ ในข้อ 3.2 มาพักเอาไว้ เพื่อสะดวกในการดึงไปใช้งาน เครื่องมือไหนไม่ค่อยได้ใช้ก็สามารถดึงมาเก็บไว้ตรงนี้ได้ ถ้าจัดเรียงดี ๆ เราจะสามารถเก็บเครื่องมือเอาไว้ ซึ่งจะทำให้เราเหลือพื้นที่ใช้งานที่มากมายขึ้นอีก
3.4 Input Toolbar (สีเขียว) ส่วนนี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำรูปทรงลายปักต่าง ๆ
3.5 Modeless Dialog (สีม่วง) ส่วนนี้จะเป็นการตั้งค่าต่าง ๆ ของเครื่องมือทำลายปักในข้อ 3.4 ในส่วนนี้สามารถปิดการแสดงได้โดยการกดที่ไอคอน
ก็จะทำให้ปิดเปิดในส่วนนี้ได้
3.6 Status Bar (สีน้ำเงิน) ส่วนนี้จะเป็นการแสดง จำนวนฝีเข็มและตำแหน่งต่าง ๆ ของลายปัก
3.7 Message Prompt Line (สีแดง) ส่วนนี้จะเป็นการบอกเหตุการณ์ต่าง ๆ ขณะที่เรากำลังทำลายปัก ซึ่งถือว่ามีประโยชน์มาก สำหรับท่านที่ไม่ทราบขึ้นตอนของการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการทำลายปัก
3.8 Color Toolbar (สีชมพู) ส่วนนี้จะเป็นแถบสีสำหรับกำหนดสีของลายปัก โดยแถบสีในแต่ละแถบ เราเรียกว่า Color way
3.9 General Object Toolbar (สีเหลือง) ส่วนนี้จะเป็นการกำหนดการปรับแต่งตำแหน่งและขนาดของลายปักที่แอ็คทีฟอยู่ ให้มีตำแหน่งหรือขนาดตามต้องการ

แนะนำหน้าตาของโปรแกรมกันก่อนครับ บทหน้าจะพูดถึงเรื่องการเปิดลายปักและการบันทึกลายปัก
ที่มา. thaiemb.com
1.สำหรับโปรแกรมเมื่อติดตั้งแล้วจะมีส่วนที่ใช้งานสองส่วนคือ ตัวโปรแกรมคือ Wilcom 2006 และ ส่วนสำหรับจัดการกับลายปักคือ Design Workflow(จะร่ายยาวในอีกส่วนหนึ่งครับเนื่องจากมีเนื้อหาที่มาก) สำหรับการใช้งานให้ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Wilcom 2006 ก็จะเป็นการเรียกโปรแกรมมาใช้งาน

2.นี่คือหน้าตาของโปรแกรม Wilcom 2006 จะเห็นว่ามีส่วนที่คล้ายคลึงกับเวอร์ชั่น 9.0 และ ก่อนหน้านั้นพอสมควร

3.สำหรับส่วนประกอบต่าง ๆ ของงโปรแกรมจะมีรายละเอียดดังนี้
3.1 Menu Bar ที่ด้านบนสุด(สีเหลือง) จะเป็นส่วนของคำสั่งของเมนูต่าง ๆ ของโปรแกรม
3.2 Toolbar (สีฟ้า) จะเป็นส่วนของการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรม ที่อยู่ในรูปของไอคอน โดยเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้จะอยู่ในกรอบเป็นหมวดหมู่ เราสามารถดึงกรอบต่าง ๆ มาจัดเรียบตำแหน่งได้ตามใจชอบ
3.3 Toolbar Docking (สีส้ม) ส่วนนี้จะเป็นที่เก็บเครื่องมือต่าง ๆ ในข้อ 3.2 มาพักเอาไว้ เพื่อสะดวกในการดึงไปใช้งาน เครื่องมือไหนไม่ค่อยได้ใช้ก็สามารถดึงมาเก็บไว้ตรงนี้ได้ ถ้าจัดเรียงดี ๆ เราจะสามารถเก็บเครื่องมือเอาไว้ ซึ่งจะทำให้เราเหลือพื้นที่ใช้งานที่มากมายขึ้นอีก
3.4 Input Toolbar (สีเขียว) ส่วนนี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำรูปทรงลายปักต่าง ๆ
3.5 Modeless Dialog (สีม่วง) ส่วนนี้จะเป็นการตั้งค่าต่าง ๆ ของเครื่องมือทำลายปักในข้อ 3.4 ในส่วนนี้สามารถปิดการแสดงได้โดยการกดที่ไอคอน

3.6 Status Bar (สีน้ำเงิน) ส่วนนี้จะเป็นการแสดง จำนวนฝีเข็มและตำแหน่งต่าง ๆ ของลายปัก
3.7 Message Prompt Line (สีแดง) ส่วนนี้จะเป็นการบอกเหตุการณ์ต่าง ๆ ขณะที่เรากำลังทำลายปัก ซึ่งถือว่ามีประโยชน์มาก สำหรับท่านที่ไม่ทราบขึ้นตอนของการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการทำลายปัก
3.8 Color Toolbar (สีชมพู) ส่วนนี้จะเป็นแถบสีสำหรับกำหนดสีของลายปัก โดยแถบสีในแต่ละแถบ เราเรียกว่า Color way
3.9 General Object Toolbar (สีเหลือง) ส่วนนี้จะเป็นการกำหนดการปรับแต่งตำแหน่งและขนาดของลายปักที่แอ็คทีฟอยู่ ให้มีตำแหน่งหรือขนาดตามต้องการ
![]() | ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 1280x984 พิกเซล. |

แนะนำหน้าตาของโปรแกรมกันก่อนครับ บทหน้าจะพูดถึงเรื่องการเปิดลายปักและการบันทึกลายปัก
ที่มา. thaiemb.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น