วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การตั้งค่า Connectors

ในชิ้นงาน(Object) แต่ละชิ้นงาน เมื่อมีชิ้นงานหลายชิ้น ชิ้นงานแต่ละชิ้นก็จะมีการโยงเชื่อมกัน(Connectors) เกิดขึ้น โปรแกรม Wilcom จะมีคำสั่ง ผูกไหมเข้า(Tie In) ผูกไหมออก(Tie Off) ตัดไหม(Trim) และ กระโดด(Jump) เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งโปรแกรม Wilcom ได้เปิดโอกาสให้เราได้ตั้งค่าต่าง ๆ ในการเชื่อมชิ้นงานให้เหมาะสมกับงานของเราตามต้องการ เนื่องจากคำสั่งเหล่านี้จะสำคัญมากในการที่จะนำลายปักไปใช้ปักจริง ถ้าตั้งค่าให้เหมาะสมแล้ว จะทำให้งานของเรามีความรวดเร็วขึ้นและตรงวัตถุประสงค์ของเราตามต้องการ


1.ในการปิดและเปิดหน้าต่างการตั้งค่าต่าง ๆ ที่อยู่ด้านขวาของจอ หรือ ที่เรียกว่า Modeless Dialog สามารถทำได้โดยการกดที่ไอคอน Properties Window เพื่อเป็นการเรียกหน้าต่างการตั้งค่าขึ้นมาก (ในกรณีที่ถูกปิดไว้)
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 766x681 พิกเซล.



2.จากนั้นให้คลิกที่แท็ป Connectors เพื่อเข้าสู้การตั้งค่าการเชื่อมต่อ(Connectors) ในรูปแบบต่าง ๆ



3.ในการตั้งค่าจะมีการตั้งค่าใหญ่ 2 ส่วนคือ After Object และ Inside Object ซึ่งการตั้งค่าทั้งสองส่วนนี้จะมีการตั้งค่าคนละส่วนและไม่เหมือนกัน
  


การเชื่อมต่อระหว่างชิ้นงาน(After Object)
การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างชิ้นงานแรกและชิ้นงานต่อไปตามลำดับการสร้าง

4.ในส่วนแรกจะเป็นการตั้งค่ารูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างชิ้นงาน หรือ Type จะมีตัวเลือก 2 แบบคือ...
-Jump จะเป็นการตั้งค่าระยะการกระโดดไปปักชิ้นงานอื่น โดยไม่ลงฝีเข็มและไม่ตัดไหม ถ้าระยะมากกว่าค่าที่ตั้งไว้ โดยโปรแกรมกำหนดให้กระโดดได้ไม่เกิน 7 มิลลิเมตร
-Run จะเป็นการตั้งค่าระยะการเดินรัน(Run) ไปปักชิ้นงานอื่น ถ้าระยะมากกว่าค่าที่ตั้งไว้

-ภาพตัวอย่างการเชื่อมต่อแบบ Jump และ แบบ Run
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 774x665 พิกเซล.



5.ในส่วนต่อไปจะเป็นการตั้งค่าการตัดไหม หรือ Trim ซึ่งจะทำงานก็ต่อเมื่อ ในส่วนแรกคือ Type เลือกเป็นแบบกระโดด หรือ Jump จะมีตัวเลือก 3 แบบคือ...
-Off จะเป็นการตั้งค่าไม่ให้มีการตัดไหมเลย (แต่ถ้าเกิน 13 มิลลิเมตร โปรแกรมก็ตัดไหมให้อัตโนมัติอยู่ดี)
-Always จะเป็นการตั้งค่าให้มีการตัดไหมเสมอเมื่อจบชิ้นงาน
-If Next Connector > จะเป็นการตั้งค่าให้มีการตัดไหม ถ้าจุดเริ่มชิ้นงานต่อไปมีระยะมากกว่าค่าที่ตั้งในช่อง

-ภาพตัวอย่างการตัดไหม จะแสดงเป็นสัญลักษณ์เป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนจุดเริ่มต้นของชิ้นงานจะถูกแสดงด้วยวงกลมเล็ก ๆ
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 782x593 พิกเซล.



6.ในส่วนต่อไปจะเป็นการตั้งค่าการผูกไหมเข้า(Tie In) และ การผูกไหมออก(Tie Off) เราจะมาดูส่วนแรกก่อนคือการผูกไหมเข้า หรือ Tie In กันเสียก่อน โดยคำสั่งผูกไหมเข้าจะมีการตั้งค่าหลายส่วนด้วยกันคือ...
-Off จะเป็นการตั้งค่าไม่ให้มีการผูกไหมเข้า เมื่อเริ่มต้นชิ้นงาน
-Always Tie In จะเป็นการตั้งค่าให้มีการการผูกไหมเข้าเสมอ เมื่อเริ่มต้นปักชิ้นงาน
-Tie In if จะเป็นการตั้งค่าให้มีการผูกไหมเข้า ตามการกำหนดเงื่อนไขดังนี้
  -After Trim / CC  จะเป็นตัวเลือกให้มีการผูกไหมเข้า ถ้ามีการตัดไหม หรือ มีการเปลี่ยนสีไหมปัก
  -Previous Connector > จะเป็นการเลือกให้มีการผูกไหม ถ้าชิ้นงานก่อนหน้ามีค่ามากกว่าค่าในช่องที่ตั้งไว้
และในส่วนด้านล่างจะมีการตั้งค่าการผูกไหมเข้า 2 อย่างดังนี้
-Length จะเป็นการตั้งค่าให้ฝีเข็มผูกไหมมีความยาวตามค่าที่ตั้งไว้
-Number จะเป็นการตั้งค่าให้ลงฝีเข็มตามค่าที่ตั้งไว้ 



7.ในส่วนต่อไปจะเป็นการผูกไหมออกออก หรือ Tie Off จะมีการตั้งค่าดังนี้
-Off จะเป็นการตั้งค่าไม่ให้มีการผูกไหมออก เมื่อจบชิ้นงาน
-Always Tie Off จะเป็นการตั้งค่าให้มีการผูกไหมออกเสมอ เมื่อจบชิ้นงาน
-Tie Off if จะเป็นการตั้งค่าให้มีการผูกไหมออก ตามเงื่อนไขดังนี้
  -Before Trim / CC จะเป็นตัวเลือกให้มีการผูกไหมออก ถ้าต่อไปมีการตัดไหม หรือ มีการเปลี่ยนสี
  -Always Tie Off Last จะเป็นตัวเลือกให้มีการผูกไหมออก ถ้าชิ้นงานนั้นเป็นชิ้นงานสุดท้ายของลายปัก
  -Next Connector > จะเป็นการตั้งค่าการผูกไหมออก ถ้าชิ้นงานต่อไปมีระยะห่างมากกว่าค่าในช่องที่ตั้งไว้ 
และในส่วนด้านล่างจะมีการตั้งค่าการผูกไหมออกดังนี้
-Method คือรูปแบบของการผูกไหม
-Length จะเป็นการตั้งค่าให้ฝีเข็มผูกไหมมีความยาวตามค่าที่ตั้งไว้
-Number จะเป็นการตั้งค่าให้ลงฝีเข็มตามค่าที่ตั้งไว้ 

-ภาพตัวอย่างการผูกไหมเข้า และ การผูกไหมออก
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 665x532 พิกเซล.



การเชื่อมต่อภายในชิ้นงาน(Inside Object)
การเชื่อมต่อแบบภายในชิ้นงาน จะเป็นการเชื่อมต่อของชิ้นงานที่ถูก กรุ๊ป(Group) เอาไว้ เช่น ตัวหนังสือเป็นต้น ถึงแม้จะเป็นหลาย ๆ ตัวอักษร แต่โปรแกรมจะมองชิ้นงานที่ถูกกรุ๊ปไว้เป็นชิ้นงานเดียว ฉนั้นการเชื่อมต่อจึงถือว่าเป็นการเชื่อมต่อภายในชิ้นงาน

8.การตั้งค่าการเชื่อมต่อภายในชิ้นงาน(Inside Object) โดยรวมจะเหมือนกันกับการตั้งค่าการเชื่อมต่อระหว่างชิ้นงาน ทุกประการ แต่ทว่าค่าที่ตั้งเหล่านี้ถึงแม้จะเหมือนกัน แต่ก็เป็นคนละค่าและคนละส่วนกับการเชื่อมต่อระหว่างชิ้นงาน โดยมากจะใช้ตั้งค่ากับลายปักที่เป็นแบบตัวอักษร ถ้ามีการตั้งค่าไม่เหมาะสม จะทำให้ชิ้นงาน หรือ Object มีการตัดไหมภายในชิ้นงานที่มากมายเกิดขึ้น
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 985x625 พิกเซล.

-หลังจากการตั้งค่าระยะห่างของชิ้นงานภายในให้เหมาะสม โปรแกรมจะสั่งให้กระโดดแทนการตัดไหม
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 1002x639 พิกเซล.



ทิ้งท้าย การตั้งค่าการเชื่อมต่อต่าง ๆ เหล่านี้ จะทำให้เราได้งานที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของเรามากขึ้นเช่น สั่งให้กระโดด(Jump) เพื่อเชื่อมชิ้นงานทุกชิ้น หรือ สั่งให้ตัดไหม(Trim) เมื่อจบชิ้นงานทุกชิ้น ตามต้องการได้โดยการตั้งค่าต่าง ๆ เหล่านี้


สำหรับสมาชิกท่านใดมีปัญหาสงสัยการใช้งานประการใด หรือ มีข้อแนะนำเพิ่มเติม ก็เชิญโพสท์สอบถาม - แนะนำได้ต่อจากกระทู้นี้ได้ครับ

ที่มา. thaiemb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น