วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การล้อมกรอบชิ้นงานด้วย Insert Offset Object

 หลังจากที่เราได้สร้างชิ้นงานขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องการเดินตัดเส้น อาจจะเดินด้วยเส้น รัน(Run) หรือ อินพุตซี(Input C) และเพื่อความรวดเร็วโปรแกรม Wilcom ได้มีคำสั่ง Insert Offset Object มาให้ใช้งาน โดยในเวอร์ชั่น Wilcom 2006 นี้ ทาง Wilcom ได้เพิ่มไอคอนขึ้นมาให้ใช้งานในแถบเครื่องมือเลย ซึ่งไม่เหมือนเวอร์ชั่นรุ่นก่อนที่เรียกคำสั่งนี้จากทางเมนูบาร์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น 


1.ตัวอย่างชิ้นงานที่จะใช้ในการล้อมกรอบชิ้นงานอัตโนมัติ จะมีทั้งแบบชิ้นงานธรรมดา และ ชิ้นงานที่เจาะรูเอาไว้
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 745x587 พิกเซล.



2.จากนั้นให้ทำการเลือกชิ้นงานที่เราต้องการให้โปรแกรมล้อมกรอบอัตโนมัติ ให้แอ็คทีฟ เครื่องมือ Insert Offset Object ก็จะพร้อมใช้งานในทันที
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 905x776 พิกเซล.



4.เมื่อเราคลิกที่ไอคอน Insert Offset Object แล้วโปรแกรมก็จะขึ้นหน้าต่าง Offset Object ซึ่งมีการตั้งค่ามากมายที่เพิ่มขึ้นจากเวอร์ชั่นก่อน ๆ มากมาย



5.สำหรับการตั้งค่าในส่วนแรกคือ Fixed Offset จะเป็นการตั้งค่าการล้อมกรอบแบบตายตัว ถ้าเป็น 0 จะติดกับขอบเดิมของชิ้นงาน ถ้าค่ามากกว่า 0 ก็จะร่นออกไปนอกชิ้นงานตามระยะที่ตั้งไว้ แต่ถ้าค่าน้อยกว่า 0 หรือ ติดลบก็จะร่นเข้ามาในขอบของชิ้นงาน
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 950x555 พิกเซล.



6.ถัดไปจะเป็นการตั้งค่า Offset Cout จะเป็นการตั้งค่าจำนวนรอบของเส้นกรอบ โดยเส้นกรอบถัดไปจะมีระยะเท่ากันทุกกรอบตามการตั้งค่า Fixed Offset ในข้อ 5.
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 959x545 พิกเซล.



7.ในส่วนต่อไปจะเป็นการเลือกรูปแบบมุมของกรอบ หรือ Corner จะมี 2 แบบคือ ด้านบนเป็น rounded หรือมุมโค้ง ส่วนด้านล่างคือ squared หรือ มุมเหลี่ยม
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 925x573 พิกเซล.



8.ถ้าเป็นการเลือกแบบ squared จะมีการตั้งค่าเพิ่มเติมในการตัดมุมที่แหลมเกินไป แต่เนื่องจากผู้เขียนลองสารพัด ก็ไม่เห็นมันตัดมุมกรอบที่มันแหลมเสียที  จึงขอผ่านตัวนี้ไปนะครับ
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 948x562 พิกเซล.



9.ต่อไปเป็นการเลือการล้อมกรอบแบบกำหนดความห่างเองคือ Use Offset List เมื่อเลือกใช้งานตัวนี้แล้วให้กดที่ปุ่ม Offset List ที่ด้านหลัง ก็จะเป็นการตั้งค่าระยะเส้นกรอบแต่ละเส้นว่าให้ห่างจากกรอบของชิ้นงานแต่ละตัวห่างกันเท่าไหร่ตามการกำหนดของเราได้ สามารถกำหนดระยะความห่างได้ 8 กรอบตามต้องการ
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 961x709 พิกเซล.



10.ในส่วนต่อไปจะเป็นการเลือกรูปแบบเส้นกรอบ คือ Object Type ซึ่งมีรูปแบบให้เลือก 9 อย่างคือ Run, Triple Run, Motif Run, Input C ,Complex Fill, Fusion Fill Backstitch, Stemstitch, และ vector
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 1005x632 พิกเซล.



11.ในส่วนของการตั้งค่าต่อไปคือ approximation หรือ ความแม่นยำ ในส่วนของลายที่มีรูปร่างซับซ้อน อาจจะทำให้การล้อมกรอบไม่สวยงามเกิดขึ้นได้ สำหรับค่านี้ค่ายิ่งน้อยก็จะทำให้ความสมบูรณ์ในการล้อมกรอบดีขึ้นเท่านั้น
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 1041x533 พิกเซล.



12.ในส่วนต่อไปคือการเลือกเส้นกรอบแบบเกลียวสาหร่าย หรือ Spiral ในกรณีที่มีกรอบหลาย ๆ ชั้น เมื่อกาเครื่องหมายที่ Use Spiral จะทำให้การเดินเส้นกรอบกลายเป็นแบบเกลียวขึ้นมาทันที
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 1090x712 พิกเซล.



13.และท้ายสุด จะเป็นการลบชิ้นงานดั้งเดิมทิ้งเมื่อสร้างกรอบ เมื่อเรากาเครื่องหมายถูกที่ช่อง replace original ก็จะทำให้ชิ้นงานเดิมถูกลบทิ้งในทันที
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 1066x709 พิกเซล.



14.สำหรับชิ้นงานที่ถูกเจาะรู ระบบก็จะเดินกรอบให้ทั้งด้านนอกและด้านในชิ้นงานให้อัตโนมัติ



15.และสำหรับตัวอักษร ก็จะเป็นการเดินกรอบให้เหมือนกัน ข้อสังเกตุคือ ตัวอักษรระบบจะเดินกรอบให้ทุกส่วนแม้แต่รอยต่อ ถ้าต้องการความสวยงามจะต้องใช้เครื่องมือขาประจำอย่าง Reshape Object มาช่วยลบหรือขยับส่วนที่เกินออกให้สวยงามภายหลัง
ภาพนี้ได้ถูกปรับขนาด คลิกที่แถบนี้เพื่อดูภาพเต็ม ภาพต้นฉบับมีขนาด 983x408 พิกเซล.



ที่มา. thaiemb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น